การตรวจโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019
การตรวจโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019

การตรวจโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019

บทความนี้ใช้ระบบคริสต์ศักราช เพราะอ้างอิงคริสต์ศักราชและคริสต์ศตวรรษ หรืออย่างใดอย่างหนึ่งการตรวจทางห้องปฏิบัติการเพื่อหาโรคติดเชื้อโคโรนาไวรัส 2019 (COVID-19) และหาเชื้ออันเป็นสาเหตุโรคคือไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ (SARS-CoV-2) มีอยู่หลายวิธีรวมทั้งวิธีตรวจเชื้อไวรัสโดยตรง (เช่น RT-PCR, INAA และแอนติเจน) และวิธีตรวจสารภูมิต้านทานที่ร่างกายสร้างตอบสนองต่อการติดเชื้อไวรัสมีประโยชน์ทั้งเพื่อตรวจวินิจฉัยและรักษา และเพื่อสอดส่องการติดโรคของประชากรทั้งสามารถแสดงจำนวนคนติดเชื้อแล้วแม้ในผู้มีอาการน้อยหรือไม่มีอาการเลยจึงสามารถใช้วัดอัตราตาย (mortality rate) และระดับภูมิคุ้มกันหมู่ในกลุ่มประชากรได้แต่ระยะเวลาและประสิทธิภาพของภูมิคุ้มกันที่ว่านี้ก็ยังไม่ชัดเจน[1]และอัตราผลบวกลวงและผลลบลวงก็ต้องพิจารณาด้วยการตรวจเหล่านี้ยังจำกัดมาก จนถึงเดือนมีนาคม 2020 ก็ยังไม่มีประเทศใดซึ่งมีข้อมูลที่เชื่อถือได้เกี่ยวกับความชุกโรคในกลุ่มประชากรของตน ๆ[2]จนถึงวันที่ 29 เมษายนประเทศที่เผยแพร่ข้อมูลได้ตรวจโรคในอัตราเพียงแค่ร้อยละ 1.4 ของประชากรทั้งประเทศ ไม่มีประเทศใดที่สุ่มตัวอย่างเกินร้อยละ 14 ของประชากรทั้งประเทศ[3]ประเทศต่าง ๆ ได้ตรวจมากน้อยไม่เท่ากัน[4]ความผันแปรเช่นนี้คงส่งผลต่ออัตราป่วยตาย (CFR) ของโรค ซึ่งน่าจะประเมินเกินในประเทศต่าง ๆ เนื่องกับอคติในการสุ่มตัวอย่าง[5][6][7]ในวันที่ 2 พฤษภาคม ประเทศไทยได้ตรวจคน 72,745 คนโดยมีผู้ติดโรคในประเทศ 2,966 คนและมีผู้เสียชีวิตแล้ว 54 คน[8]

แหล่งที่มา

WikiPedia: การตรวจโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 http://news.sciencenet.cn/htmlnews/2020/2/435435.s... http://www.ajudaily.com/view/20200409140926759 http://www.ivdtechnology.com/article/concurrent-en... http://www.khufash.com/bd/applications/lateral_flo... http://www.koreabiomed.com/news/articleView.html?i... http://www2.merriam-webster.com/cgi-bin/mwmednlm?b... http://cphpost.dk/?p=112522 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/12325527 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/19433588 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/20204872